วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

นกอาร์เจนทาวิส แมกนิฟิเซนส์ (Argentavis magnificens)
นี่เป็นเรื่องของนกอาร์เจนทาวิส แมกนิฟิเซนส์ (Argentavis magnificens) นกตัวใหญ่ที่สุดในโลกที่บินได้ และเคยมีชีวิตเมื่อประมาณ 6 ล้านปีก่อน

อาร์เจนทาวิส แมกนิฟิเซนส์ เคยอยู่บริเวณเทือกเขาแอนดีส ในอเมริกาใต้ รวมทั้งที่ราบปัมปาส ในประเทศอาร์เจนตินา มันมีน้ำหนักพอๆ กับเครื่องบิน "ไลต์แอร์คราฟต์" คือ น้ำหนักกว่า 68 กิโลกรัม

พอสยายปีกแล้ว มันจะดูตัวใหญ่และน่ากลัวเอาเรื่อง เพราะปีกซ้ายจนถึงปีกขวามีความยาวประมาณ 23 ฟุต หรือ 7 เมตร

ศ.สันคาร์ ชัตตารี นักธรณีวิทยาจากพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยเทกซัสเทค รัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา ไขความลับ ทำไมอาร์เจนทาวิส แมกนิฟิเซนส์ ถึงบินได้ว่า

ถ้ามีลมหนุนแล้ว นกตัวนี้จะบินได้ประมาณ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ละวันมันอาจบินได้ไกลถึง 300 กิโลเมตร

ชัตตารีนำลักษณะการบินของอาร์เจนทาวิส แมกนิฟิเซนส์ ไปวิเคราะห์ โดยใช้ซอฟต์แวร์ที่เลียนแบบการบิน จึงพบว่า อาร์เจนทาวิส แมกนิฟิเซนส์ ก็เหมือนกับนกใหญ่ๆ ที่อยู่บนดินทั่วๆ ไป คือใหญ่เกินกว่าที่จะบิน แต่ถ้ามีอากาศที่เหมาะสมแล้ว มันจะบินได้

อากาศที่เหมาะสมก็คือ เมื่อมีกระแสอากาศไหลขึ้น หรือมีลมยกอยู่บริเวณตีนเขา

ส่วนขั้นตอนที่ยากที่สุดของการบินคือ ตอนบินขึ้น เพราะต้องใช้เทคนิคอย่าง บินลงจากจุดสูงๆ ของเทือกเขาไปจนถึงวิ่งลงจากเนินเขาที่มีความชันประมาณ 10 องศา เพื่อให้ได้พลังงานหนุน หรือมีลมต้านดันอยู่เบื้องหลัง
อ้างอิง http://www.matichon.co.th/khaosod/kh...sectionid=0326

10 of the biggest animals to roam the planet

ม็กกาโลดอน (อังกฤษ: Megalodon ภาษากรีกแปลว่า ฟันใหญ่) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เม็ก (Meg) ปลาฉลามขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่โลกเคยมีมา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Carcharodon megalodon นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามีรูปร่างและลักษณะรวมทั้งพฤติกรรมคล้ายคลึงกับปลาฉลามขาว (C. carcharias) และได้จัดให้อยู่ในสกุล Carcharodon อันเป็นสกุลเดียวกับฉลามขาว แต่ทว่า เม็กกาโลดอนมีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่ามาก
เม็กกาโลดอน มีชีวิตอยู่ในช่วงยุคนีโอจีน (23-1.81 ล้านปีก่อน) โดยแหวกว่ายอยู่ในมหาสมุทรในแถบทวีปอเมริกาใต้ในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า เม็กกาโลดอนกินอาหารโดยไม่เลือก และอาจจะกินวาฬได้ด้วย เนื่องจากมีการขุดค้นพบกระดูกวาฬที่มีรอบฟันคล้ายรอยฟันของฉลามกัด เชื่อว่าเป็นรอยฟันของเม็กกาโลดอน โดยเหยื่อของเม็กกาโลดอนชนิดหนึ่ง คือ ออโดเบ็นโอเซ็ทออป ซึ่งเป็นวาฬในยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่มีลักษณะคล้ายนาวาฬในยุคปัจจุบัน
ขนาดของเม็กกาโลดอน อาจมีความยาวประมาณ 20 เมตรหรือยาวกว่านั้น ฟันของเม็กกาโลดอน มีความยาวประมาณ 21 เซนติเมตร และมีขนาดกรามใหญ่ถึง 2 เมตร นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเม็กกาโลดอนที่ยังอ่อน จะอาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเล และตัวใหญ่จะออกหากินตามทะเลเปิดและก้นมหาสมุทร โดยสามารถว่ายน้ำและโจมตีเหยื่อได้อย่างรวดเร็ว
ปัจจุบัน เม็กกาโลดอนได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้วราว 15 ล้านปีก่อน แต่ยังเหลือปลาที่มีความใกล้เคียงกันที่สุดก็คือ ฉลามขาว ความใหญ่และน่ากลัวของเม็กกาโลดอนทำให้มีผู้นำไปสร้างเป็นนวนิยายและภาพยนตร์หลายต่อหลายเรื่อง เช่น Shark Attack 3: Megalodon ในปี ค.ศ. 2002 หรือนวนิยายเรื่อง เม็กกาโลดอน นวนิยายแนววิทยาศาสตร์สยองขวัญ โดย ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักเขียนและนักมีนวิทยาชาวไทย
อย่างไรก็ดี ในปี ค.ศ. 1933 มีชายชาวอเมริกันคนหนึ่งอ้างว่า เขาได้พบเห็นฉลามตัวหนึ่งที่มีขนาดใหญ่กว่าฉลามปกติทั่วไปหลายเท่า โดยพบที่มหาสมุทรแปซิฟิคนอกชายฝั่งของสหรัฐอเมริกา เขาอ้างว่าเฉพาะหัวส่วนของมันมีขนาดใหญ่ราว 10 ฟุต[1]
อนึ่ง เมื่อไม่นานมานี้ นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งได้ติดตั้งกล้องน้ำลึกเพื่อบันทึกภาพการกินเหยื่อของฉลาม และพบฉลามตัวหนึ่งที่มีขนาดใหญ่มาก โดยที่นักวิทยาศาสตร์ไม่รู้ว่า มันคือฉลามชนิดไหน แต่อาจมีความเป็นไปได้ว่า คือ เม็กกาโลดอน (แต่มีผู้สันนิษฐานว่า คือ ปลาฉลามสลีปเปอร์ แปซิฟิค(Somniosus pacificus) ซึ่งโตเต็มที่ยาวได้ 7 เมตร)
อ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%81%
E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%99